กระดูกข้อศอกเคลื่อนพบได้บ่อยในเด็กวัย 1 – 5 ขวบ เนื่องจากช่วงวัยนี้กล้ามเนื้อ เอ็น และข้อศอก ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ จึงง่ายต่อการเคลื่อนหลุดง่าย ส่วนสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากการกระทำของพ่อแม่ คือ กระชากที่แขนบริเวณข้อมือและข้อศอก ลื่นล้ม พ่อแม่จับลูกเล่นอุ้มเด็กเหวี่ยงไปมา ต้องระมัดระวังให้มากเพราะใช้เวลาในการรักษายาวนาน 3 – 4 สัปดาห์ และเจ็บปวดมาก คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมว่าเด็กที่เจ็บป่วยยาวนานทำให้พัฒนาการถดถอยได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกกระดูกข้อศอกเคลื่อน
- ลูกจะร้องลั่นทันทีทันใด
- ลูกไม่ยอมขยับแขน
- ข้อศอกลูกอยู่ในท่างอเล็กน้อย หุบเข้าหาลำตัว
ลูกอาจสามารถขยับหัวไหล่ได้ แต่ลูกอาจไม่ขยัยข้อศอกเนื่องจากเจ็บปวดมาก ในรายที่อาการไม่มากลูกจะขยับแขนได้เป็นปกติ และหายปวด
การดูแลลูกเมื่อกระดูกข้อศอกเคลื่อนเบื้องต้นก่อนถึงมือแพทย์
- ดูแลให้ส่วนที่เจ็บอยู่นิ่งๆมากที่สุดแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล
- ห้ามขยับข้อศอกให้เข้าที่ด้วยตัวเองหากไม่เชี่ยวชาญเกิดผิดพลาดแล้วทำให้บาดเจ็บที่ ข้อศอก เส้นเอ็น เส้นเลือดบริเวณนี้มากขึ้น
- ขณะนำส่งโรงพยาบาลแม่ดูแลประคบเย็นลดการเคลื่อนไหวบริเวณนั้นให้น้อยที่สุด
การป้องกันลูกกระดูกข้อศอกเคลื่อน
คุณแม่คุณพ่อไม่ยกลูกขึ้นมาจากพื้นด้วยมือ หรือ จับที่แขนท่อนล่างเพียงข้างเดียว การยกลูกที่ถูกต้องควรยกตัวลูกที่ใต้รักแร้หรือจับที่บริเวณแขนท่อนบน อย่าเหวี่ยงลูกเล่นเหวี่ยงนอกจากเสี่ยงต่อข้อศอกเคลื่อนแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุชนิดอื่นๆร่วมด้วย
เรื่องไม่คาดคิด ที่เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เกิดขึ้นได้เสมอ คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจต่อการสัมผัสลูกรัก ทำด้วยความนุ่มนวล เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุกับลูกรักของเรา